พาเที่ยว "อุทยานแห่งชาติไบรซ์แคนยอน" (BRYCE CANYON NATIONAL PARK)


     อุทยานแห่งชาติไบรซ์แคนยอน (Bryce Canyon National Park) ตั่งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐยูทาห์ (Utah) ประเทศสหรัฐอเมริกา(USA) ภูมิประเทศของไบรซ์แคนยอนเป็นหน้าผาสูง อยู่เหนือระดับน้ำทะเลถึง 8000-9000 ฟุต (2400-2700 เมตร) ขณะที่แกรนด์แคนยอน (Grand Canyon) สูงเพียง 7000 ฟุต เท่านั้นที่เป็นธรรมชาติมหัศจรรย์ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมา ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เมื่อ 60 ล้านปีมาแล้วที่บริเวณนี้อยู่ใต้ผืนน้ำเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกผืนแผ่นดินที่ราบสูงก็ถูกยกตัวขึ้น และเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงบริเวณชั้นหินจนก่อเกิดเป็นเสาดินและหินมากมายก่ายกองในหุบเขาที่สูงถึง 2,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

    เนื่องจากสถานที่นี้อยู่ตอนปลายของแกรนด์แคนยอน (Bryce Canyon) ทั้งที่จริงๆ มิใช่เป็นแคนยอน เพราะมิใช่ภูเขาที่ถูกกัดเซาะด้วยแม่น้ำ แต่ชาวอินเดียนเรียกที่นี่ว่า " หินแดง " หรือ " Red Rock" แต่ไม่ว่าใครก็ตามที่มายืนอยู่บนหน้าผาและมองไปในหุบกว้างนี้ก็จะเห็นภาพเสาหินรูปร่างต่างๆ นานา ซึ่งเราจินตนาการว่านี่คือเสาหินรูปตุ๊กตาอินเดียนแดง


      ไบรซ์แคนยอนเปรียบได้กับสถานที่จัดแสดงแสงสีธรรมชาติ ด้วยรูปลักษณ์และสีของหินที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแสงของวัน การเดินทางเข้ามาชมความงามนี้จึงเริ่มได้ตั้งอรุณรุ่งของวันไปจนกระทั่งพระอาทิตย์ขึ้นที่ที่ราบสูงอควาริอุส (Aquarius Plateau) และจุดชมพระอาทิตย์ตกที่ซันเซ็ตพอยต์ (Sunset Point) นอกจากนี้แล้วยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติลงไปในหุบเขาเบื้องล่าง และสำหรับผู้ที่มีเวลามากกว่า 1 วัน สามารถขับรถไปยังเรนโบว์พอยต์ (Rainbow Point) ต้องใช้เวลาท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งวันขึ้นไป ซึ่งจะพบกับสะพานหินธรรมชาติและมีเส้นทางเดินอีกมากมายเช่นกัน


       เอกลักษณ์ของไบรซ์แคนยอนคือ แท่งหินยอดแหลมๆ เรียกว่า ฮูดู (Hoodoos) ที่ขึ้นเรียงกันเป็นแนว มีรูปร่างรูปทรงแปลกประหลาดตำนานของพวกอินเดียนแดงกล่าวว่า แท่งหินเหล่านี้เกิดจากมนุษย์ที่ต้องคำสาปกลายเป็นหิน ไบรซ์แคนยอน ประกอบด้วยหินทรายสลับหินดินดาน ตั้งแต่ยุคครีเทเชียสถึงช่วงต้นของมหายุคซีโนโซอิก ตกสะสมตัวในสภาพแวดล้อมแบบทะเลสาบขนาดใหญ่ จนกระทั่งน้ำตื้นขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลาหลายล้านปี ทำให้เริ่มมีการกร่อนของแม่น้ำที่ไหลผ่านชั้นหิน ร่วมกับการยกตัวของพื้นดินขณะเกิดเทือกเขารีอกกี้ (70-50 ล้านปีก่อน) 

        จากนั้นก็มีการยกตัวของเปลือกโลกอีกครั้ง และทำให้เกิดที่ราบสูงโคโลราโดเมื่อ 16 ล้านปีก่อน การยกตัวทำให้หินเริ่มมีการแตกตามแนวดิ่ง ซึ่งทำให้ง่ายต่อการถูกกร่อน จนกลายเป็นแท่งเสาสวยงามในปัจจุบัน สีน้ำตาลแดง สีชมพู และสีแดงได้จากแร่ฮีมาไทต์ (Hematite) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ ส่วนสีเหลือได้จากแร่ลิโมไนต์ (Limonite) ส่วนสีม่วง ได้จากแร่ไพโรลูไซต์ (Pyrolusite) หินแต่ละชั้นมีความทนทานต่อการกร่อนแตกต่างกัน ทำให้เสาหินมีลักษณะเป็นปล้องๆ และเว้าตรงส่วนที่หินผุพังง่าย


         อุทยานนี้ ตั้งชื่อตาม Ebenezer and Mary Bryce ซึ่งเป็นพวกมิชชันนารี และเป็นช่างไม้ด้วย ซึ่งได้เข้ามาตั้งรกรากบริเวณนี้ในปี ค.ศ.1875 เพื่อสร้างทางสำหรับขนไม้ ที่มีอยู่มากมายในบริเวณนี้ออกไป นอกจากไม้แล้ว ยังมีพวกพืชพันธ์ต่างๆ และสัตรว์ทั้งหลายออกไปด้วย คนท้องถิ่น พวกอินเดียนทั้งหลายก็เลยตั้งชื่อหุบเขาที่มีหินรูปร่างแปลกๆ ที่อยู่ข้างๆ บ้านของพวกเขาว่าไบรซ์ ลักษณะทางธรณีวิทยาของไบรซ์ แคนยอน เกิดก่อนแกรนด์แคนยอนน่ะคับ คือเริ่มเมื่อ 10 – 15 ล้านปีก่อน เมื่อโคโลราโดพราทู ยกตัวขึ้นจากท้องทะเล จุดสูงสุด ของเพลทนี้ เรียกว่า Aquarius ซึ่งอยู่ด้านตะวันออกของไบรซ์แคนยอน 

ขอบด้านนี้ เริ่มมีการกัดกร่อน การพังทลายด้วยลม น้ำแข็ง และฝน โดยบริเวณนี้ เป็นที่สูงคับ พอๆ กะยอดดอยอินทนนท์ ต่ำกว่ากันไม่มากนัก ดังนั้น จึงมีทั้งหิมะ และน้ำแข็ง น้ำจะเซาะเข้าไปในชั้นหิน แล้วกลายเป็นน้ำแข็งแทรกในเนื้อหิน ต่อมาก็ละลายคับ เกิดเหตุการณ์แบบนี้เป็น cycle และฝน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ก็เลยทำให้หินเกิดการกัดกร่อน เป็นรูปร่างแปลก อย่างที่เห็น เสาหินทั้งหลาย เรียกว่า Hoodoo คับ เกิดจากขอบหน้าผา เกิดการกัดเซาะ เหลือแค่ขอบ เป็นครีบยื่นจากหน้าผา ลักษณะคล้ายผนังน่ะคับ ต่อมาผนังก็เกิดการกัดเซาะ เป็นรูในผนัง พอรูนั้นกว้างเข้า ก็เลยเกิดเป็น hoodoo ขึ้นมานั่นเอง



ที่มา : pentorexchange.com ภาพ : google

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ถ้ำฟิงกอล (Fingals Cave) ประเทศสก็อตแลนด์ (Scotland)

พาเที่ยว "ถ้ำผานางคอย" จังหวัดแพร่

พาเที่ยว "เขาทะลุ" ชุมพร แวะชิมกาแฟเขาทะลุที่ขึ้นชื่อ